การเลือกซื้อ โคมไฮเบย์ ให้ประหยัด และปลอดภัย โคมไฮเบย์ หรือ โคมโรงงาน แล้วแต่ว่าใครจะเรียกแบบไหน เอาตามความเข้าใจของแต่ละท่านเลย เป็นโคมไฟที่ถูกตั้งชื่อตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งโคมประเภทนี้มีจุดเด่นจะอยู่ที่ความประหยัด ความปลอดภัย และความคุ้มค่าเป็นหลัก มันจึงได้รับความนิยมในการนำไปใช้งาน ในพื้นที่ที่มีความกว้างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมหรือ โกดัง แต่ว่าเมื่อเทียบราคากับโคมไฟประเภทอื่น โคมไฮเบย์ led จะราคาสูงกว่าหลอดไฟประเภทอื่น แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะ โคมไฮเบย์ มีความปลอดภัยสูงกว่าและทนทานกว่าโคมประเภทอื่น การเลือกซื้อโคมไฟโรงงาน โคมไฮเบย์ ต้องเลือกอย่างไร และต้องดูในส่วนไหนบ้าง วันนี้ทางทีมงานจะเอาเคล็ดลับดีๆมาฝากกัน เคล็ดไม่ลับ ในการเลือกซื้อโคมไฮเบย์ ให้คุ้มค่า 1.ต้องคำนึงถึงต้นทุนก่อนเป็นอย่างแรก ต้นทุนคือปัจจัยสำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณา ในการเลือกซื้อ โคมไฮเบย์ เพราะงบประมาณที่มีจะส่งผลต่อทุกอย่างโดยเฉพาะคุณภาพของ ไฮเบย์ โดยทั่วไปแล้วโครงของ โคมไฟไฮเบย์ จะผลิตมาจากเหล็กหรืออลูมิเนียม ปกติจะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ โคมไฮเบย์แบบฝาชี ซึ่งแบบนี้จะมีราคาที่ถูกกว่าเพราะต้นทุนต่ำ และอีกแบบจะเป็นแบบ โคมไฟไฮเบย์ UFO ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า เพราะด้วยวัสดุ เทคโนโลยี รวมถึงประสิทธิภาพความสว่าง ที่ดีกว่า ราคาจึงสูงกว่านั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัจจัยการเลือกก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของเราเองด้วย 2.คำนวนแสงตามพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โคมไฮเบย์ หากเป็นพื้นที่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือ โกดังเก็บสินค้า โรงงานผลิตอาหาร […]
มาดูประวัติของ หลอดไฟ LED หลอดไฟ LED อาจดูเหมือนเป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการมานานกว่าร้อยปี หลายคนมีส่วนสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ค่อยๆ ปูทางให้กับ หลอดไฟ LED โดยนำไดโอดเปล่งแสงจากแสงสีเขียวอ่อนๆ มาสู่หลอดไฟที่สามารถจำลองช่วงของสีและระดับลูเมนได้ ตั้งแต่แสงเทียนไปจนถึงแสงแดดธรรมชาติ ลองย้อนกลับไปดูเหตุการณ์บางส่วน นักประดิษฐ์ที่ทำให้เป็นไปได้ เราจะย้อนไปในปี 1907 กันเลยทีเดียว 1907 กัปตันเฮนรี โจเซฟ ราวด์ วิศวกรชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่รายงานการแผ่รังสีของแสงจากไดโอดโซลิดสเตต 1927 นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวรัสเซียในปี 1927 Oleg Losev สังเกตเห็นแสงสีเขียวแบบเดียวกันที่ปล่อยออกมาจากไดโอดแบบโซลิดสเตตเมื่อเชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้า เขาตรวจสอบและเผยแพร่ทฤษฎีที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ กลายเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์เซมิคอนดักเตอร์คนแรกๆ 1939 นักฟิสิกส์ชาวฮังการีปี 1939 Zoltán Bay และ György Szigeti นำสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสงอิเล็กโทรลูมิเนสเซนต์ซิลิคอนคาร์ไบด์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไดโอดเปล่งแสงที่มองเห็นได้นั้นเป็นไปได้ 1952 หลังจากทดสอบทฤษฎีบางอย่างของ Losev ศาสตราจารย์ Kurt Lehovec ได้อธิบายเกี่ยวกับไดโอดเปล่งแสงตัวแรก 1955 รูบิน เบราน์สไตน์ นักวิจัยจาก Radio […]