ไฟกระชากหายนะของเครื่องใช้ไฟฟ้า!!!

        ไฟกระชากหายนะของเครื่องใช้ไฟฟ้า!!!  ในช่วงเวลาที่ฝนตก สภาพอากาศภายนอกอาคารที่มีฝนตกและมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งการเกิดฟ้าผ่าก็คือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมหาศาลจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดิน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลก็จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีพลังมหาศาลแผ่ไปยังทุกทิศทาง โดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะไปเหนี่ยวนำกับสายไฟฟ้าหรือคู่สายสัญญาณต่างๆ การเหนี่ยวนำนี้ทำให้เกิดกระแสไฟกระชากหรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า ไฟเกินเกิดขึ้น กระแสไฟกระชากก็จะวิ่งผ่านสายไฟฟ้าเข้าสู่ตัวอาคารตรงไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกจุดที่ต่อใช้งานรวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อกับสายสัญญาณต่างๆซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับความเสียหายได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกระแสไฟกระชากและความเปราะบางของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นสร้างความเสียหายมากมายทำลายทั้งชีวิตและความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้

เหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC Power Line คือ

          การเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC Power LINE ยกตัวอย่าง บ้าน 2 ชั้นหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆต่อใช้งานอยู่ รวมถึงมีอุปกรณ์ทางด้านโทรศัพท์เช่น Modem ต่อใช้งานกับอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วย เมื่อเกิดฟ้าผ่าก่อตัวเกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีการสะสมประจุบวกอยู่บริเวณด้านบนของก้อนเมฆ และประจุลบอยู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ เมื่อประจุลบสะสมตัวกันมากจะเกิดฟ้าผ่าลงมายังพื้นโลกทำให้มีการเหนี่ยวนำประจุบวกจากพื้นดินให้ขึ้นมาอยู่บริเวณยอดแหลมต่างๆ เช่น บริเวณตามยอดของต้นไม้ เป็นต้น เมื่อประจุลบสะสมตัวทำให้เกิดความหนาแน่นของประจุจนกระทั่งถึงจุดจุดหนึ่ง จะเกิดการถ่ายเทประจุจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดินโดยเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ฟ้าผ่าไฟกระชากที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 คุณลักษณะ ดังนี้

  1. ไฟกระชากแบบช่วงสั้น หรือ Transient คือ สภาวะไฟเกินที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000โวล์ขึ้นไป และมีระยะเวลาในการเกิดสั้นมาก เช่น1/1000 ถึง 1/1000000 ของวินาทีเป็นต้น

  2. ไฟกระชากแบบช่วงยาว หรือ TOVs (Temporary Over Voltages) คือ สภาวะไฟเกินที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าเช่นกัน โดยอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่า 1/1000 ของวินาทีจนถึงหลายวินาที เป็นต้น ซึ่งตามมาตรฐาน IEEE ยังได้กล่าวไว้ด้วยว่า เทคโนโลยีของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะสามารถรองรับพลังงานที่เกิดจากไฟกระชากแบบช่วงยาว (TOVs) นี้ได้ อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแบบทั่วๆไปซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟกระชากแบบช่วงสั้น (Transient) ได้เพียงอย่างเดียว ทำการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแบบทั่วทั่วไปที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟกระชากแบบช่วงสั้นได้เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเกิดเป็นไฟกระชากแบบช่วงยาว (TOVs) จึงทำให้อุปกรณ์ป้องกันไม่สามารถที่จะรองรับไฟกระชากแบบช่วงยาวนี้ได้จึงเกิดการเสียหาย เมื่ออุปกรณ์ป้องกันเสียหาย ไฟกระชากแบบช่วงยาวที่เหลือก็จะเข้าไปทำลายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ให้ได้รับความเสียหายต่อไปด้วย

จะป้องกันเมื่อเกิดไฟกระชากได้ยังไง !!!

           ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าที่มี Surge Protector ที่จะสามารถป้องกันการเกิดไฟกระชากได้ ซึ่งทางเรามีสินค้าที่ได้รับมาตราฐานจาก มอก. ที่สามารถป้องกัน เมื่อมีการเหนี่ยวนำ เข้ามาในระบบไฟฟ้า  อุปกรณ์ของบริษัทเราก็จะทำการดึงไฟกระชากแบบช่วงสั้นผ่านตัวมันเองและเอาไปทิ้งลงดินเพื่อไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของท่านเกิดความเสียหาย จนกระทั่งไฟกระชากหมดไป อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ก็จะได้รับความปลอดภัยไม่เกิดความเสียหายใดๆทั้งสิ้น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆของท่านจะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และ ไม่เกิดอันตรายใดๆ