ปัญหาแสงแยงตา

    แสงแยงตา ค่าแสงแยงตาที่เกิดขึ้นจากโคมไฟส่องสว่าง ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟเพดาน ไฟดาวน์ไลท์ โคมไฮเบย์ โคมสปอตไลท์ หรือรวมไปถึง โคมไฟถนน ก็ตาม เมื่อแสงจากโคมไฟเหล่านี้ได้ส่องมากระทบเข้าดวงตาของเรานั้น อาจจะทำให้เราอารมณ์เสียอยู่เรื่อยไป วิธีการในการแก้ปัญหาง่ายๆ คือการหลับตา หรี่ตา เพื่อลดการรับแสงเข้ามาผ่านตาของคุณ แต่ถ้าหากช่วงเวลานั้นท่านกำลังขับรถยนต์ หรือยานพาหนะอย่างอื่นอยู่ การหลับตาหรือหรี่ตาอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ หรือแม้แต่ขณะเราออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาแล้วอยู่ๆ มีแสงแยงตาของคุณ นั้นอาจจะทำให้คุณหมดอารมณ์ในการเล่นกีฬาไปเลยก็ได้ สาเหตุ ตามที่กล่าวถึงด้านบนนั้น สาเหตุหลักๆ มีอยู่ 2 อย่างที่ทำให้เกิดค่าแสงแยงตาขึ้นได้ คือ 1.  แหล่งกำเนิดแสง 2.  การรับแสงของดวงตาคน วิธีการแก้ปัญหา ในการรับแสงของรูม่านตาแต่ละบุคคลนั้นมีการรับแสงที่แตกต่างกันไป ในสถานที่หนึ่งบางคนมองว่าแสงสว่างมากเกินไป แต่บางคนอาจจะมองว่าแสงสวยงามกำลังดี วิธีการแก้ปัญหาง่ายๆ คือการใส่แว่นกันแดด แต่การจะให้ใส่แว่นกันแดดตอนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ก็คงจะไม่สะดวกนัก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาแสงแยงตาที่ดีที่สุดคือการแก้ไขที่แหล่งกำเนิดแสง ซึ่งวันนี้เราจะยกตัวอย่างแหล่งกำเนิดแสงจากโคมไฟทั่วไปมาอธิบายนะครับ ปัจจัยที่ทำให้โคมไฟ มีค่าแสงแยงตาสูง 1. เลนส์ของโคมไฟ เลนส์ของโคมไฟนั้นทำหน้าที่บังคับแสงให้แสงนั้นพุ่งไปในทิศทางที่เราต้องการ และยังเป็นตัวป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง ความชื้นหรือน้ำ ที่อาจทำให้เม็ด LED ที่อยู่ข้างในเกิดความเสียหายได้ ถ้าเราเลือกเลนส์ที่มีค่าของมุมกระจายแสงไม่เหมาะกับความต้องการก็อาจทำให้เกิดค่าแสงแยงตาได้ […]

การออกแบบแสงสว่างคืออะไร

การออกแบบแสงสว่างคืออะไร แสงสว่างถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เพราะแสงสว่างนั้นทำให้คนเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ แต่ทว่าแสงสว่างนั้นก็ต้องมีความ เหมาะสม หากมีความสว่างมากหรือน้อยจนเกินไป ก็จะทำให้การมองเห็นสิ่งต่างๆ นั้นลำบากยิ่งขึ้น อีกทั้งอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดตามมาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่ซึ่งมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ย่อมต้องการสภาพแสงที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในโรงภาพยนต์ ต้องการความสว่างที่น้อยกว่าบริเวณสนามฟุตซอล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบแสงสว่างเพื่อให้แต่ละพื้นที่นั้นมีแสงสว่างเหมาะสม ในขั้นตอนของการออกแบบการส่องสว่างจะต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมการส่องสว่างที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอาคาร และนอกอาคาร อย่างไรก็ตามพื้นที่พิเศษบางประเภท เช่น ห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ห้องควบคุมการบิน และสนามกีฬา อาจต้องพิจารณาเกณฑ์คุณภาพแสงสว่างและข้อกำหนดเฉพาะของพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม การออกแบบแสงสว่าง (Lighting design) เป็นการคิดคำนวน วางแผน เพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เพียงพอ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน วิธีการออกแบบแสงเริ่มจากพิจารณาขนาดของส่วนต่างๆ ของพื้นที่ที่ต้องการออกแบบ โดยการคำนึงถึงผลการสะท้อนของพื้น ผนัง และเพดาน ซึ่งจัดเป็นการส่องสว่างแบบทางอ้อม เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์ ในขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะมีการออกแบบแสงสว่างมีสองวิธี คือ 1. วิธีการของ IES (Illumination Engineering Society) มาตรฐาน BS หมายถึง British Standards Exposure lndex […]