ระบบโซล่าเซลล์ (Solar cell) มีหลักการทำงานอย่างไร หากจะกล่าวสั้นๆ ระบบโซล่าเซลล์ (Solar cell) ก็คือ การผลิตไฟฟ้าโดยใช้แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนแผงโซล่าเซลล์ แต่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าหลักการทำงานจริงๆ ของมันคืออะไร หรือมีอุปกรณ์อะไรที่จำเป็นต่อระบบนี้บ้าง บทความนี้จะทำให้ผู้อ่านคลายข้อสงสัยที่มีต่อระบบโซล่าเซลล์อย่างแน่นอน 1.แผงโซล่าเซลล์ ภายในแผงโซล่าเซลล์นั้นจะประกอบไปด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ มีหน้าที่หลักคือ รับแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง DC โดยหลายคนอาจจะกำลังเข้าใจผิดว่าแผงโซล่าเซลล์นั้น ต้องการแค่ความร้อนเฉยๆ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แต่จริงๆ แล้วแผงโซล่าเซลล์นั้นต้องการแสงแดดจากแสงดวงอาทิตย์ เนื่องจากแสงแดดนั้นประกอบด้วยกลุ่มพลังานที่เรียกว่าโฟตอน ( + ) และเมื่ออนุภาคโฟตอนเหล่านี้ไปตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์ จะทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ภายในแผงนั้นปล่อยอิเล็กตรอน ( – ) ออกมา ดังนั้นในช่วงเวลาที่มีเมฆมากหรือฝนตก การผลิตไฟฟ้าก็จะน้อยลงเป็นเรื่องปกติ องค์ประกอบหลักของระบบโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัตถุที่มีซิลิกอนเป็นส่วนประกอบ หรือเรียกว่า (เซลล์ PV) ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแสงพระอาทิตย์ได้ ซึ่งเซลล์ PV นี้จะเชื่อมต่อกันภายในแผงโซล่าเซลล์ และจะเชื่อมต่อกับแผงที่อยู่ติดกัน โดยใช้สายเคเบิลยึดติดกันไว้เรียกรูปแบบนี้ว่า “สตริง” โดยปริมาณพลังงานที่สร้างได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น […]
แผงโซล่าเซลล์ Half cell คืออะไร ในปัจจุบันพลังงานทดแทนกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่วนนึงคงเนื่องมาจากสภาพอากาศตอนนี้ที่แปรปวนซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะโลกร้อน ทำให้ผู้คนต่างหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ทำให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน ทำให้มีสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อโลกของเรามากยิ่งขึ้น เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังานสะอาด นั้นรวมถึงแผงโซล่าเซลล์ด้วย ซึ่งแม้ว่าแผงโซล่าเซลล์เองได้ถูกคิดค้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว หากแต่ว่าทุกวันนี้มันก็ยังได้รับความนิยมและถูกพัฒนามาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปกติแล้วเราอาจจะคุ้นเคยหรือได้ยินชื่อ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด Full cell มาบ้างแล้ว แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงแผงโซล่าเซลล์ Half cell ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในขณะนี้ แผงโซล่าเซลล์ Half cell คือ แผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตมาจากซิลิกอน มีทั้งแบบผลึกเดียว (โมโนคริสตัลไลน์) หรือผลึกรวม (โพลีคริสตัลไลน์) ซึ่งหากเราดูภายนอกตาเปล่าลักษณะของแผงทั้ง 2 ชนิดนี้แทบจะไม่ต่างกัน แต่หากสังเกตุดูดีๆ จะมีการตัดตัวเซลล์โซล่าภายในแผงออกเป็น 2 วงจร ซึ่งต่างจากแบบ Full Cell ซึ่งเซลล์จะเป็นเซลล์เต็มทั้งแผงไม่มีการตัดแบ่งแต่อย่างใด รูปแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ แบบ Full Cell และ แบบ Half […]
ลองฟังคำตอบกันดูครับว่าทำไมระบบโซล่ารูฟท็อป จึงเป็นที่นิยมและได้รับความไว้วางใจจากทุกคนเป็นเพราะว่า ระบบโซล่ารูฟท็อปที่เราจำหน่ายนั้น สิ่งที่ลูกค้าของเราจะได้รับไม่ใช่แค่การติดตั้งอย่างใดอย่างหนึ่งในระบบไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ลูกค้าจะได้รับการติดตั้งแบบครบวงจรเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงการแก้ปัญหา รวมถึงให้ข้อมูลต่างๆ กับลูกค้าได้ครบทุกขั้นตอนการติดตั้ง สิ่งที่ลูกค้าจะได้ในแบบระบบโซล่าเซลล์รูฟท็อปครบวงจร 1) แผงโซล่าเซลล์ 2) ชุดแปลงกระแสไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ 3) อุปกรณ์ต่อเชื่อม เช่น ขั้วต่อ สายไฟ 4) แอปพลิเคชันการจัดการระบบ Solar Rooftop ทั้ง 4 อย่างนี้ คือสิ่งที่ลูคค้าจะได้รับจากเรา นอกจากนี้เรายังกล้ารับประกันอายุการใช้งานทั้งระบบตลอดระยะเวลา 25 ปี เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของโซล่ารูฟท็อปที่พบเจอคือ บริการหลังการขาย เนื่องจาก ช่างผู้ติดตั้งส่วนใหญ่ จะนำแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ รวมถึง ข้อต่อ และสายไฟ มาจากหลายๆ แหล่งซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ปัญหาที่พบคือ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งชำรุด ก็จะส่งผลให้อุปกรณ์ตัวอื่นเสียหายไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ติดตั้งจะปฏิเสธการรับผิดชอบ ในการวางระบบเราใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เชื่อมต่อกับระบบดาวเทียมภูมิศาสตร์ ทำให้เรารู้ค่าแสงแดดในแต่ละพื้นที่ ทำให้สามารถนำมาใช้ในการคำนวณปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังช่วยชี้ให้เห็นถึงเงาของอาคารข้างเคียง หรือ ต้นไม้ ที่อาจจะพาดผ่านแผงโซลาร์ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง การใช้คอมพิวเตอร์จำลองสภาพข้างเคียงของอาคารจะช่วยให้ เราสามารถหลีกเลี่ยงแสงเงาที่จะตกกระทบแผงโซล่าเซลล์ได้ เรายังสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยหามุมและทิศในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ […]
ประเภทของสายไฟ ในชีวิตประจำวันของเรา ต่างก็ต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่าง เป็นต้น จึงถือได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว หากแต่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ย่อมต้องใช้สายไฟในการจ่ายพลังงาน ซึ่งตัวสายไฟเองก็แบ่งออกเป็นหลายประเภท แตกต่างกันตามการใช้งาน ดังนั้นวันนี้เราจะมาอธิบายถึงคุณสมบัติ และลักษณะการใช้งานของสายไฟแต่ละชนิดในทราบกัน 1. สายไฟ IV สายไฟประเภทนี้มีลักษณะเป็นสายเดียวหรือแกนเดี่ยวสามารถทนแรงดันไฟ 300 โวลต์ จะนิยมใช้เป็นสายไฟเดินเข้าอาคารบ้านเรือน สำนักงาน ที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส (ไม่สามารถใช้กันระบบ 3 เฟส 380 โวลต์ได้) แต่ถ้าเราต้องการเดินสายแบบลอย ก็จำเป็นต้องยึดด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนก่อนหรือเดินในช่องเดินสายไฟในสถานที่แห้ง แต่ไม่สามารถใช้ร้อยท่อฝังดินหรือเดินฝังดินโดยตรง สายไฟ IV 2. สายไฟ VAF สายไฟประเภทนี้มักจะติดตั้งอยู่ในบ้านเรือนทั่วไป บางครั้งเรียกว่าสายตีกี๊บ ตัวสายจะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 70°C และทนแรงดันได้ 300/500V (ไม่สามารถใช้กับระบบ 3 เฟส 380 โวลต์ได้) จะแบ่งย่อยเป็นสายเดี่ยว, 2 แกน […]
แสงแยงตา ค่าแสงแยงตาที่เกิดขึ้นจากโคมไฟส่องสว่าง ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟเพดาน ไฟดาวน์ไลท์ โคมไฮเบย์ โคมสปอตไลท์ หรือรวมไปถึง โคมไฟถนน ก็ตาม เมื่อแสงจากโคมไฟเหล่านี้ได้ส่องมากระทบเข้าดวงตาของเรานั้น อาจจะทำให้เราอารมณ์เสียอยู่เรื่อยไป วิธีการในการแก้ปัญหาง่ายๆ คือการหลับตา หรี่ตา เพื่อลดการรับแสงเข้ามาผ่านตาของคุณ แต่ถ้าหากช่วงเวลานั้นท่านกำลังขับรถยนต์ หรือยานพาหนะอย่างอื่นอยู่ การหลับตาหรือหรี่ตาอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ หรือแม้แต่ขณะเราออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาแล้วอยู่ๆ มีแสงแยงตาของคุณ นั้นอาจจะทำให้คุณหมดอารมณ์ในการเล่นกีฬาไปเลยก็ได้ สาเหตุ ตามที่กล่าวถึงด้านบนนั้น สาเหตุหลักๆ มีอยู่ 2 อย่างที่ทำให้เกิดค่าแสงแยงตาขึ้นได้ คือ 1. แหล่งกำเนิดแสง 2. การรับแสงของดวงตาคน วิธีการแก้ปัญหา ในการรับแสงของรูม่านตาแต่ละบุคคลนั้นมีการรับแสงที่แตกต่างกันไป ในสถานที่หนึ่งบางคนมองว่าแสงสว่างมากเกินไป แต่บางคนอาจจะมองว่าแสงสวยงามกำลังดี วิธีการแก้ปัญหาง่ายๆ คือการใส่แว่นกันแดด แต่การจะให้ใส่แว่นกันแดดตอนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ก็คงจะไม่สะดวกนัก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาแสงแยงตาที่ดีที่สุดคือการแก้ไขที่แหล่งกำเนิดแสง ซึ่งวันนี้เราจะยกตัวอย่างแหล่งกำเนิดแสงจากโคมไฟทั่วไปมาอธิบายนะครับ ปัจจัยที่ทำให้โคมไฟ มีค่าแสงแยงตาสูง 1. เลนส์ของโคมไฟ เลนส์ของโคมไฟนั้นทำหน้าที่บังคับแสงให้แสงนั้นพุ่งไปในทิศทางที่เราต้องการ และยังเป็นตัวป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง ความชื้นหรือน้ำ ที่อาจทำให้เม็ด LED ที่อยู่ข้างในเกิดความเสียหายได้ ถ้าเราเลือกเลนส์ที่มีค่าของมุมกระจายแสงไม่เหมาะกับความต้องการก็อาจทำให้เกิดค่าแสงแยงตาได้ […]
วิธีการเลือกซื้อโคมไฮเบย์ หากเรามีความต้องการที่จะติดตั้งโคมไฟเพื่อส่องแสงสว่างใน โรงงาน โกดังสินค้า ลานอเนกประสงค์ หรือ โรงจอดรถ โคมไฮเบย์จะเป็นโคมที่ตอบโจทย์มากที่สุด แต่การหาโคมสักโคมมาติดตั้ง เพื่อให้แสงสว่างตามที่เราต้องการนั้น คงเกิดคำถามขึ้นในใจหลากหลายข้อ เช่น จะใช้โคมไฟชนิดไหนดี ชนิดไหนประหยัดที่สุด แล้วจะคุ้มค่ากับราคาไหม อายุการใช้งานยาวนานเท่าไร หรือแม้กระทั่งจะซื้อจำนวนกี่โคมดี วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน การเลือกรูปแบบโคม เราจะพูดถึงรูปแบบโคมไฮเบย์ที่เหมาะกับการใช้งานในโรงงานโกดังสินค้า หรือพื้นที่ที่มีเพดานสูงตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป ซึ่งโคมโฮเบย์นั้นจะแยก ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ โคมไฮเบย์ LED แบบฝาชี เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคาร เช่น ภายในโรงงาน โกดังสินค้า เป็นต้น เนื่องจากตัวโคมไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ แต่จุดเด่นของโคมไฮเบย์ LED แบบฝาชีคือสามารถเลือกมุมกระจายแสงของฝาชีได้ ซึ่งมุมองศายิ่งน้อยแสงจะส่องเป็นเส้นตรงลงมา ไม่กระจายออกด้านข้าง กลับกันหากมุมองศายิ่งมากแสงที่ส่องลงมาจะกระจายออกไปทั่วทั้งบริเวณ โคมไฮเบย์แบบฝาชี 90° โคมไฮเบย์แบบฝาชี 120° โคมไฮเบย์ LED แบบ […]
ปรากฏการณ์ PID คืออะไร Potential induced degradation หรือ PID นั้นเป็นปรากฏการอย่างหนึ่งที่เกิดจากการที่ตัวเซลล์แสงอาทิตย์ (Cell) ที่อยู่ใกล้กับโครง (Frame) ทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์ กระจก และโครง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของประจุ โดยปกติแล้วบริเวณแผ่นแก้วที่ทำหน้าที่ปกป้องแผงเซลล์แบบมาตรฐานนั้นจะมีประจุของโซเดียมที่ต่ำ ซึ่งสามารถเร่ร่อนเดินทางไปได้ในหลายทิศทาง ซึ่งเกิดจากการดึงดูดของประจุลบและบวก ระหว่างวัสดุ กรณีที่เกิดความต่างศักย์เกิดขึ้นระหว่างเซลล์และกระจก จะส่งผลทำให้ไอออนของโซเดียม (ขี้เกลือ) ถูกผลักเข้าไปแทรกซึมในผิวเซลล์แสงอาทิตย์และส่งผลทำให้เซลล์ถูกทำลายในที่สุด ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผงต่ำลง และยิ่งสะสมไปนานๆ ก็จะทำให้เสื่อมได้ไวกว่าระยะเวลาการรับประกัน (เกิดการออกซิเดชั่นและรีดักชั่น) ประจุของโซเดียมนั้นจะสามารถเคลื่อนไหวได้ดีก็เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ระบบกราวด์ที่ต่อเข้ากับแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งในประเทศอเมริกาจะนิยมต่อลักษณะ Negative to Ground แต่ทางยุโรปจะเป็น Unground ทำให้ในอเมริกาไม่พบปัญหานี้ เพราะว่าการต่อกราวด์นั้นสามารถดึงโซเดียมออกจากเซลล์ที่ออกจากแผงโซล่าเซลล์ไปยังโครงของแผงโซล่าเซลล์ ทำให้สามารถแก้ปัญหาการทำลายของแผงเซลล์ได้ ซึ่งจะพบในอินเวอร์เตอร์ที่มีหม้อแปลง การปรากฏปัญหาเรื่อง PID นั้นเริ่มมาจากทางยุโรปเพราะการติดตั้งนั้นไม่ได้มีมาตรฐานในเรื่องระบบกราวด์ ทำให้การเสื่อมสภาพของแผงเร็วกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากเทคโนโลยีของอินเวอร์เตอร์แบบ Transformerless ในสมัยนั้นได้รับความนิยมอย่างมากเพราะราคาถูกและประสิทธิภาพสูง แต่ผู้ใช้งานบางรายได้ทำการทดสอบปัญหาเรื่อง PID ก่อนการติดตั้ง […]
รังสี UV คืออะไร ในปัจจุบันเราน่าจะเคยได้ยินคำว่ารังสี UV มาบ้างแล้ว แต่คุณรู้ไหมว่าแท้จริงแล้วนั้นรังสี UV คืออะไร มาจากไหน แล้วมีประโยชน์หรือโทษอะไรบ้าง บทความนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับรังสี UV ได้ดีมากขึ้นอย่างแน่นอน รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า รังสีเหนือม่วง แต่เรามักเรียกกันอย่างสั้นๆ ว่า รังสี UV ที่จริงแล้วก็คือ “ช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นในช่วง 100-400 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV” ที่มันได้ชื่อดังกล่าวก็เพราะว่าสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วงนั้นเอง แหล่งกำเนิดรังสีอัลตราไวโอเลต 1. แหล่งที่เกิดจากธรรมชาติ การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (Solar Radiation) ถือเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของรังสีและคลื่นต่างๆ ที่แผ่มายังโลก เช่น รังสี UV รังสีแกมม่า รังสีเอ็กซ์ รังสีอินฟาเรด คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ รวมถึงช่วงคลื่นที่มนุษย์มองเห็น (สีต่างๆ) แต่รังสีและคลื่นบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ส่วนที่เหลือสามารถส่องมาถึงผิวโลกในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 2. แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial sources) […]
การออกแบบแสงสว่างคืออะไร แสงสว่างถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เพราะแสงสว่างนั้นทำให้คนเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ แต่ทว่าแสงสว่างนั้นก็ต้องมีความ เหมาะสม หากมีความสว่างมากหรือน้อยจนเกินไป ก็จะทำให้การมองเห็นสิ่งต่างๆ นั้นลำบากยิ่งขึ้น อีกทั้งอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดตามมาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่ซึ่งมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ย่อมต้องการสภาพแสงที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในโรงภาพยนต์ ต้องการความสว่างที่น้อยกว่าบริเวณสนามฟุตซอล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบแสงสว่างเพื่อให้แต่ละพื้นที่นั้นมีแสงสว่างเหมาะสม ในขั้นตอนของการออกแบบการส่องสว่างจะต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมการส่องสว่างที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอาคาร และนอกอาคาร อย่างไรก็ตามพื้นที่พิเศษบางประเภท เช่น ห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ห้องควบคุมการบิน และสนามกีฬา อาจต้องพิจารณาเกณฑ์คุณภาพแสงสว่างและข้อกำหนดเฉพาะของพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม การออกแบบแสงสว่าง (Lighting design) เป็นการคิดคำนวน วางแผน เพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เพียงพอ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน วิธีการออกแบบแสงเริ่มจากพิจารณาขนาดของส่วนต่างๆ ของพื้นที่ที่ต้องการออกแบบ โดยการคำนึงถึงผลการสะท้อนของพื้น ผนัง และเพดาน ซึ่งจัดเป็นการส่องสว่างแบบทางอ้อม เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์ ในขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะมีการออกแบบแสงสว่างมีสองวิธี คือ 1. วิธีการของ IES (Illumination Engineering Society) มาตรฐาน BS หมายถึง British Standards Exposure lndex […]