วิธีลดมลพิษทางแสงด้วยการออกแบบไฟถนน
เสาไฟส่องสว่าง หรือ เสาไฟถนน มีแทบทุกที่ในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย วันนี้เราจะปรับแนวคิดใหม่ซึ่งสามารถทำได้และแนวทาง แนวคิด ต่าง ๆ มาให้ศึกษากัน ว่ามีอะไรบ้างและสำคัญแค่ไหน
หลายแสน หลายล้านดวงในเมืองทำให้เมืองสว่างไสวในทุกค่ำคืน แต่แสงส่วนเกินจำนวนมากที่เปล่งออกมาเหนือขอบฟ้า ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่ามลพิษทางแสง แต่นอกจากจะกีดขวางสายตาของเราจากดวงดาวแล้ว ยังส่งผลกระทบที่ในด้านอื่นๆ ด้วย ตั้งแต่การใช้พลังงานมากเกินไป ไปจนถึงปัญหาสุขภาพจากการนอนหลับ
การออกแบบที่ดีสำคัญอย่างไร
ปฏิเสธไม่ได้ว่าโคมไฟถนนเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างทัศนวิสัยที่ดีในการสัญจรและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน แทนที่จะลดจำนวนไฟลง จึงต้องเปลี่ยนเป็นการออกแบบ โคมไฟถนน ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน และไม่สร้างมลพิษทางแสงมากจนเกินไปแทน โดยการออกแบบที่ว่า ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมลพิษทางแสงได้น้อยลง มีดังนี้
1.ใช้สีโทนอุ่น ควรใช้ LED อุณหภูมิต่ำที่ส่องแสงในโทนสีที่นุ่มนวลกว่าสีขาวหรือฟ้า อย่างสีเหลืองหรือแดง เนื่องจากไฟสีขาวจะรบกวนการนอนหลับของสิ่งมีชีวิตมากกว่าปกติ นอกจากจะใช้พลังงานเท่าเดิมและราคาที่ใกล้เคียงกันแล้ว แสงโทนนี้ยังกระจายแสงน้อยลงและเป็นมิตรกับท้องฟ้ายามค่ำคืนมากขึ้นด้วย
2.ระดับแสงสว่างปานกลาง สม่ำเสมอ และปรับไปตามการใช้งาน อย่างโซนของอาคาร ช่วงเวลา และการจราจร ซึ่งเสาไฟกลางแจ้งส่วนใหญ่จะสามารถหรี่แสงลงได้ 25% โดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพในการมองเห็นของสิ่งมีชีวิต
3.จำกัดทิศทางแสง อีกหนี่งปัจจัยที่สำคัญมาก ก็คือการจำกัดวงของแสงให้ส่องไปยังพื้นที่ที่ต้องการเท่านั้น แทนที่จะเปิดโล่งจนกระจายแสงได้ทุกทิศทาง ไฟถนนที่ดีจะต้องถูกออกแบบโคมไม่ให้แสงเล็ดลอดออกมาสูงกว่าแนวระนาบได้
ภาพต่อจากนี้จะเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึง design ของโคมไฟถนน หรือ ที่แปลกตา แต่มีข้อดีตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นอย่างชัดเจน ถ้าในอนาคตเราเปลี่ยนมาให้โคมไฟเหล่านี้ประเทศไทยคงจะดูดีน่ามองขึ้นไม่น้อยเลย อย่างไรก็ตาม โคมไฟถนนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เถียงไม่ได้เลยว่า เป็นบล็อคเดียวกันหมด เพราะง่ายต่อการติดตั้งและช่างก็สามารถติดตั้งได้ง่ายทำให้การจะเปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนรูปแบบต่างๆ จากจะสร้างความปวดหัวให้ช่าง มิใช่น้อย
CR. archdaily.com